ประวัติอาหารไทย


อาหารไทย เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทาน
อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ 

โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนัก โดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหารจำพวกผัก และเนื้อสัตว์ นานาชนิด เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิ การนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือ ชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิด

วิธีปรุงอาหารไทยนั้นมีหลายวิธีดังนี้ การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน แล้วตำเข้าด้วยกันบางอย่างอาจตำเพื่อนำไปประกอบอาหารและบางอย่างตำเป็นอาหาร เช่น ปลาป่น กุ้งป่น น้ำพริกสด น้ำพริกแห้ง น้ำพริกเผา พริกกับเกลือ ส้มตำ


การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์และน้ำปรุงรสมาเคล้าเข้าด้วยกัน จนรสซึมซาบเสมอกัน ยำของไทยมีรสหลักอยู่ 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน สำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี ยำผัก เช่น ยำผักกระเฉด ยำถั่วพู ยำเกสรชมพู่ ฯลฯ ยำเนื้อสัตว์ เช่น ยำเนื้อต่างๆ ยำไส้กรอก ยำหมูยอ ฯลฯ





การแกง หมายถึง อาหารน้ำ ซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียด นำมาละลายกับน้ำ หรือน้ำกะทิ ให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วย เช่นแกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว







การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวาน ลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่น หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้ ฯลฯ




การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การ
ปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง ( ตามแบบสมัยโบราณปิ้งด้วยเตาถ่าน มิได้ใช้เตาอบเหมือนปัจจุบัน



การย่าง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อนๆ หมั่นกลับไปกลับมา จนข้างในสุกและข้างนอกอ่อนนุ่มหรือแห้งกรอบต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงจะได้อาหาร ที่มีลักษณะรสชาติดี เช่น การย่างปลา ย่างเนื้อสัตว์ต่างๆ






การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุก ใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ เช่น การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์ ฯลฯ




การกวน หมายถึง การนำอาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวมารวมกัน ตั้งไฟแรงปานกลางใช้เครื่องมือชนิดใดชนิดหนึ่งคนให้เร็วและแรงจนทั่วกัน คือข้นและเหนียว ใช้มือแตะอาหารไม่ติดมือ เช่น การกวนกาละแม ขนมเปียกปูน ตะโก้ ถั่วกวน ฯลฯ



จี่ หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยน้ำมัน โดยการทาน้ำมันน้อยๆ พอให้ทั่วกระทะแล้วตักอาหารใส่ กลับไปกลับมาจนสุกตามต้องการ เช่น การทำขนมแป้งจี่ ขนมบ้าบิ่น เป็นต้น




หลาม หมายถึง การทำอาหารให้สุกในกระบอกไม้ไผ่โดยใช้ไม้ไผ่สดๆ ตัดให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วบรรจุอาหารที่ต้องการหลามในกระบอกไม้ไผ่นั้น ก่อนหลามต้องใช้กาบมะพร้าวห่อใบตอง อุดปากกระบอกเสียก่อน แล้วนำไปเผาจนสุก เช่น การหลามข้าวหลาม ฯลฯ

พล่าเนื้อ

                                                               พล่าเนื้อ

 ๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด        ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม         สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์

พล่า หมายถึง อาหารยำที่ใช้เนื้อสดๆ ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว
        น้ำปลา พริก ตะไคร้ฝอย ใบสะระแหน่ เป็นต้น
หื่นหอม หมายถึง หอมมากจนเร้าอารมณ์
เสาวคนธ์ หมายถึง ของหอม, เครื่องหอม, กลิ่นหอม


ห้องทำพล่าเนื้อสดกลิ่นหอมฟุ้งมากจนเร้าอารมณ์พี่ ทำให้คิดถึงครั้งเมื่อเราเคยทะนุถนอมรักใคร่ใกล้ชิดกันด้วยความสดชื่นหอมหวน


หมูป่าต้ม


หมูป่าต้ม  

๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม     แกงคั่วส้มใส่ระกำ
รอยแจ้งแห่งความขำ         ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม

แกงคั่วส้ม หมายถึง ชื่อแกงเผ็ด ปรุงน้ำพริกคล้ายแกงส้ม
                 แต่ใส่กะทิ
ความขำ หมายถึง ความลับ
ระกำ หมายถึง ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นกอ ก้านใบมี
         หนามแข็ง ผลออกเป็นกระปุกกินได้
น้องรู้เรื่องในการทำอาหารมากจริงๆ นำเอาหมูป่า
มาต้มทำแกงคั่วส้มใส่ระกำ ทำให้เห็นเค้าเงื่อนแห่งความลับ
ระหว่างพี่กับน้อง ซึ่งมีแต่ความทุกข์ระทมใจ

ข้าวหุง


     
                                                         ข้าวหุง

๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ      รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น              เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ

ลูกเอ็น หมายถึง ลูกกระวาน
เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ หมายถึง เหมือนกับที่น้องตั้งใจทำ

ข้าวหุงปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสพิเศษเพราะใส่ลูกกระวานลงไป ใครก็หุงไม่ได้อย่างที่น้องตั้งใจทำ

แกงขม



                                                              แกงขม


๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า        ทำน้ำยาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม              ชมไม่วายคล้ายคล้ายเห็น

แกงขม หมายถึง เครื่องกินกับขนมจีนน้ำยามีมะระหั่นเป็น
            ชิ้นเล็กๆ แล้วลวกให้สุก
กล หมายถึง เหมือน
อ่อม หมายถึง ชื่อแกงชนิดหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว แต่ใส่มะระ มัก
        ใช้แกงกับปลาดุก เรียกว่าแกงอ่อมมะระ หรือแกงอ่อม
        มะระปลาดุก
ด้วยความรักของน้องที่มีต่อพี่ น้องจึงเปลี่ยนมาทำน้ำยาอย่างแกงขม เหมือนแกงอ่อมมะระ ซึ่งมีรสกลมกล่อมทำให้พี่ต้องชมฝีมือของน้องขาดปาก และคลับคล้ายเห็นหน้า
น้องตลอดเวลา

เทโพ




เทโพ

๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง      เป็นมันย่องล่องลอยมัน
น่าซดรสครามครัน             ของสวรรค์เสวยรมย์
เทโพ หมายถึง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้าย
         ปลาสวายเนื้อมีรสอร่อย มักใช้แกงคั่วส้ม ใส่ผักบุ้ง
         เรียกว่า แกงเทโพ
รสครามครัน หมายถึง รสอร่อยมาก


       แกงปลาเทโพโดยใช้เนื้อท้องที่มีมันมาแกง ดูน่าซดเสียเหลือเกิน คงมีรสอร่อยมาก เปรียบเหมือนอาหารทิพย์ที่พึงใจ

ก้อยกุ้ง


 ก้อยกุ้ง

๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น       วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย               ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ

ก้อย หมายถึง อาหารจำพวกเครื่องจิ้ม ทำจากเนื้อปลา
        หรือกุ้งที่ยังดิบ รับประทานกับผักสด
ประทิ่น หมายถึง กลิ่นหอม
แด หมายถึง ใจ




ก้อยกุ้งปรุงเสร็จแล้วกลิ่นหอมมากราวกับอาหารทิพย์ เมื่อสัมผัสลิ้นอร่อยมากจนแทบขาดใจ ฝีมือปรุงอาหารของน้องจึงไม่มีใครเทียบได้ก้อยกุ้งปรุงเสร็จแล้วกลิ่นหอมมากราวกับอาหารทิพย์ เมื่อสัมผัสลิ้นอร่อยมากจนแทบขาดใจ ฝีมือปรุงอาหาร